แบบบัวที่ลูกค้าสั่งทำ ทางร้านรับทำไม้ตามแบบนะคะ สอบถามได้ค่ะ 😊
บริษัท ธนาวัฒน์ 999 จำกัด
โทร : 02-912-6970-4
แฟ็กซ์ : 02-912-6975
Line ID : tnw999
Email : tnw@hotmail.com
Website: www.thanawat999.com
——————————————————-
เวลาทำการ : จันทร์-เสาร์ (08.00 - 17.00น.)
#ไม้อัด #ไม้แปรรูป #ไม้โครง #ไม้นอก #ไม้สัก #MDF #พลาสวู้ด #ไม้บางโพ #ไม้ราคาถูก #ไม้ตามแบบ #เฟอร์นิเจอร์ #ปาร์เก้ #ไม้พื้น #วงกบ #ประตู #ไม้คิ้ว #ไม้จ๊อย #ไม้พื้น #ไม้ต่างประเทศ #รับทำไม้ตามแบบ #พลาสวู้ด #ไม้อัดบางโพ
#1 ไม้อัด (Plywood) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน
ไม้อัด(Plywood) เป็นวัสดุแผ่นจากไม้ตัวแรกที่ได้จากการนำเอาไม้วีเนียร์ซึ่งได้จากการปอก ด้วยเครื่องปอกไม้(Rotary Lathe)หลายๆ แผ่นมาอัดให้เป็นแผ่นเดียวโดยการใช้กาวเป็นตัวประสาน โดยวีเนียร์แต่ละแผ่นที่นำมาประกอบเป็นแผ่นไม้อัดจะวางในลักษณะให้เสี้ยนไม้ตั้งฉากกันเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในเรื่องของความแข็งแรง และทำให้แผ่นไม้อัดไม่ยืดหรือหดตัวเมื่อความชื้นเปลี่ยนไป
ไม้อัดคือ แผ่นไม้บางที่ประกอบกันตั้งแต่ 3 ชั้น ขึ้นไปเท่านั้น หรือ มีขนาดมาตรฐาน กว้าง 4 ฟุต (1220 มม.) ยาว 8 ฟุต(2440 มม.) และมีความหนาให้เลือกหลายขนาด ตั้งแต่ 3, 4, 6, 10, 15 และ 20 มม. แต่ความหนาของไม้อัดนั้น จะไม่ตรงกับขนาดที่ระบุเสมอไป เช่น ไม้อัดหนา 20 มม. อาจจะมีความหนาจริงแค่ 17 มม. เท่านั้น เพราะฉะนั้น การใช้ไม้อัดควรคำนึงถึงความหนาจริงของไม้ด้วย
คุณสมบัติของไม้อัด และ ขั้นตอนการผลิต
ไม้อัด ( Plywood ) เป็นผลิตภัณฑ์ ที่คงใช้พื้นฐานทางวัตถุดิบธรรมชาติ โดยถูกพัฒนากรรมวิธีการผลิต ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการใช้ไม้จริง (Solid Wood) ที่มีขนาดหน้ากว้างมากๆ ที่ปัจจุบันการเจริญเติบโตของป่าไม้ในประเทศไทย ไม่ทันต่อการตอบสนองในการใช้งาน จึงต้องมีการพัฒนาการใช้ต้นไม้ ที่มีหน้ากว้างขนาดเล็ก, เป็นไม้ทั่วไป ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว และหาได้ง่าย นำมาดัดแปลง เพื่อใช้งานแทน ไม้อุตสาหกรรมต่างๆ ที่นับวันเริ่มหาได้ยากขึ้นทุกทีภายในประเทศ ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านแทน
ขนาดของไม้อัด ความกว้าง และความยาว จะเป็นขนาดมาตรฐาน คือ ขนาด 4′ x 8′ ( 1220 x 2440 มม.) ส่วนความหนาของไม้อัด โดยส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน จะไม่ได้เป็นขนาดที่ระบุแน่นอน เท่ากับขนาดความหนาของไม้อัดนั้นๆ ที่ใช้กันอยู่ เพราะขนาดของไม้อัด ขึ้นอยู่กับคุณภาพ และโรงไม้แต่ละโรงที่ผลิตออกมา เพราะฉะนั้นการเรียกไม้อัด บางครั้ง จึงต้องมีการเรียกคุณภาพของไม้กำกับไว้ด้วย เช่น ไม้อัดบางนา 10 มม., ไม้อัดเกรด A โรงใหม่ 15 มม. ความหนาของไม้อัดในตลาดทั่วไป โดยทั่วไปที่นิยมเรียกกัน จะมีความหนาอยู่ที่ 3, 4, 6, 10, 12, 15 และ 20 มม
กรรมวิธีการผลิต จะแบ่งเป็นเกรด A (ไม้อัดบางนา), B (ไม้อัดโรงใหม่) และ C (ไม้แบบ)
1. เริ่มจากกระบวนการนำซุง เปิดปีกไม้ โดยเครื่องเลื่อยสายพาน คือการตัดเปลือกนอกออก ให้เหลือเนื้อไม้ตามหน้าตัดซุง เป็นสี่เหลี่ยม
2. ส่งซุงเข้าต้ม เพื่อให้ไม้นิ่ม และดำเนินการสไลด์ตามแนวยาวตามขนาดท่อนซุง ออกมาเป็นแผ่นเยื่อไม้บางๆ ( ซึ่งเรียกไอ้อีกอย่างว่าวีเนียร์ ) ความหนาอยู่ที่ประมาณ 0.8-1.2 มม.
3. นำวีเนียร์ที่ได้ ผ่านเครื่องตัด เพื่อตัดริมขอบวีเนียร์ ให้เป็นเส้นตรง และตัดความยาวที่เกินมากไป
4. (ขั้นตอนนี้ โดยส่วนมาก จะใช้เฉพาะเกรด B ขึ้นไป ถ้าเป็นเกรดต่ำๆ หน่อย จะอาศัยวางเรียงกันโดยไม่ทำตามขั้นตอนนี้) นำวีเนียร์ ที่ตัดริม มาเย็บให้ติดกัน โดยใช้กระดาษกาวสำหรับปิดวีเนียร์ หรืออาจจะใช้เครื่องเย็บวีเนียร์ ที่เป็นลักษณะใช้เส้นกาวเย็บแทนเส้นด้าย จนได้หน้ากว้างประมาณ 1240 มม.,ความยาวประมาณ 2450 มม. และ หน้ากว้างประมาณ 2450 มม., ความยาวประมาณ 1240 มม.
5. นำวีเนียร์ที่ได้ ทากาวลาเท็กซ์อุตสาหกรรม โดยมาวางเป็นชั้นๆ สลับลายตามแนวขวางลาย และตามแนวขนานลาย ( ที่ต้องวางสลับลายระหว่างชั้นเช่นนี้ เพื่อให้เกิดการดึงตัวระหว่างผิวภายในที่เท่ากันทั้ง 2 ด้าน ไม่ให้เกิดการบิดตัวโก่งงอ เมื่อทำเป็นแผ่นสำเร็จ ) จนได้ความหนาที่ต้องการ แต่จะวางทับเป็นชั้นเลขคี่เสมอ ถ้าเป็นไม้อัดเกรดดีหน่อย มักจะวางชั้นให้ได้ความหนาเกินขนาดที่ต้องการไว้ก่อน
6. นำวีเนียร์ที่วางเสร็จแล้ว ขึ้น Hot Press (เครื่องอัดแรงดันสูง เครื่องนี้จะเป็นเครื่องอัดทับ ขนาดใหญ่ ที่มีแผ่นความร้อน ถ่ายผ่านจากบอยล์เลอร์ เข้ามา ปรับตั้งอุณหภูมิได้เกิน 100 องศาขึ้นไป ) อัดทับลงไป เพื่อให้แผ่นวีเนียร์อัดประสานติดกัน พร้อมเนื้อกาว ( การอัดทับลงไป ทำให้เกิดการยุบตัวของเนื้อวีเนียร์ ซึ่งคำนวนเป็นค่ายุบตัวมาตรฐานค่อนข้างยาก สำหรับวัตถุดิบทางธรรมชาติ ทำให้แผ่นไม้อัดที่ผลิตออกมา ค่าความหนาไม่ค่อยคงที่)
อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.wazzadu.com/article/1163
ประเภทไม้ที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์
> ไม้พาร์ติเกิ้ล บอร์ด หรือ เศษไม้อัด หรือ ขี้เลื่อย (Particle Board)
ทำมาจากเศษไม้ประเภทต่างๆ เช่น ไม้ขนุน ,ไม้ยาง ,ไม้ยูคา ฯลฯ นำมาผสมกาวแล้วอัดขึ้นรูปด้วยความร้อน
- ข้อดี : ใช้ทดแทนไม้จริง , ราคาถูก ,มีความแข็งแรง
- ข้อเสีย : ไม่ทนต่อความชื้น เมื่อโดนน้ำจะบวมและ ขึ้นรา
> ไม้ เอ็ม ดี เอฟ (M.D.F.)
เนื้อไม้มันจะละเอียดกว่าไม้พาร์ติเกิ้ล มีความหนาแน่น ความแข็งแรงมีมากกว่า ทำมาจากเศษกระดาษอัด หรือผงไม้ สามารถนำมาอัดขึ้นรูปด้วยกระบวนการความร้อน
- ข้อดี : แข็งแรง , สะดวกในการใช้งานเพราะไม่มีเสี้ยนไม้, แปรรูปและ นำไปใช้งานต่อได้ง่าย
- ข้อเสีย : ไม่ทนต่อความชื้น เมื่อโดนความชื้นก็จะเกิดปัญหาพองตัวและเกิดเชื้อรา
***นิยมนำมาใช้ในการตกแต่งภายใน (indoor) เพราะสะดวกประหยัดกว่าไม้อัดยาง
> ไม้อัด (Plywood)
ประกอบด้วยแผ่นไม้บาง ๆ ที่ทำจากการปอกและฝานไม้ แล้วนำมาอัดทับกันเป็นแผ่นโดยมีลักษณะการวางในทิศทางสลับกันด้วยกาว แผ่นที่อยู่ผิวด้านนอกจะเป็นผิวไม้บางที่ฝานเป็นแผ่นส่วนไม้ไส้ด้านในจะเป็นไม้ที่ได้จากการปอกการอัดชั้นขอไม้อัด จะอัดทีละ 3, 5 หรือ 7 ชั้น
> ไม้อัดเนื้ออ่อน (Soft wood Plywood)
ใช้ทั้งงานภายนอก (กันน้ำได้) และงานภายใน (กันน้ำไม่ได้) สำหรับงานที่เป็นงานทาสีหรือตกแต่งภายใน เกรดที่ดีที่สุดคือ A-A (หน้าเรียบทั้ง 2 ด้าน) A-B (หน้าเรียบด้านหนึ่ง หยาบด้านหนึ่ง) และ A-C (ด้านหลังคุณภาพต่ำ) ส่วนไม้อัดเนื้อแข็ง ด้านนอกสุดจะเป็นไม้เนื้อแข็งอย่างดี เช่น มะฮ็อกกานี ยมหิน เป็นต้น เกรดของไม้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผิวแผ่นหน้าและหลัง
> ไม้จริง (Wood)
คือ ไม้เต็มแผ่น แต่ละประเภทของชนิดไม้ วิธีการเลือกใช้ก็แล้วแต่ ลักษณะประเภทงาน
- ข้อดี : แข็งแรง ทนทาน สวยงาม
- ข้อเสีย : น้ำหนักมาก ราคาแพงด้วยเช่นกัน
> ไม้เทียม
ทำมาจากพลาสติกชนิด พีวีซี เรียก ไม้พีวีซี หรือ Rigid PVC Foam ไม้เทียมเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
> ไม้พีวีซี
มีผิวแข็งเหมือน Rigid PVC ทั่วไป แต่หากนำชิ้นงานมาผ่าตัดตามขวางจะเห็นว่าภายในประกอบด้วยรูพรุนมากมาย ซึ่งการมีรูพรุนนี้เอง ทำให้ไม้พีวีซีมีความหนาแน่นลดต่ำลงมาก จึงสามารถขึ้นรูปชิ้นงาน ไม้พีวีซี ให้มีความหนาใกล้เคียงกับไม้ที่นำมาใช้งานทั่วไปได้ โดยที่มีน้ำหนักใกล้เคียงกับไม้ (ความหนาแน่นของไม้ทั่วไปประมาณ 0.3-0.6 กรัม/ซีซี)
- ข้อดี : มีอายุการใช้งานยาวนานเพราะไม่ดูดซึมน้ำ จึงไม่ผุกกร่อนเหมือนไม้หรือเป็นสนิมเหมือนเหล็ก ทนต่อกรด ด่าง สารเคมี ปลวก และแมลงทุกชนิดเป็นฉนวนกันความร้อน และกันเสียงได้ดี ไม่เป็นเชื้อเพลิงติดไฟ สามารถไส ตอก เลื่อย เจาะ หรือทากาวได้ ไม่แตกร้าวเมื่อตอก หรือแตกเป็นเสี้ยนเมื่อใช้วิธีเลื่อย
อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.furbrio.com/component